วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

9 โปรแกรมตัดต่อวิดิโอที่ดีที่สุดในปี 2014 ฟรี

9 โปรแกรมตัดต่อวิดิโอที่ดีที่สุดในปี 2014 ฟรี

1. Windows Movie Maker

Windows Movie Maker เป็นโปรแกรมทำวีดีโอที่ง่ายมาก แค่เพียงลากวางวีดีโอลงในโปรแกรมหลังจากนั้นก็ทำการตัดต่อตามต้องการ ความสามารถอีกอย่างหนึ่งของโปรแกรมนี้คือใช้โปรแกรม Windows Movie Maker สร้างสไลด์โชว์ เอาเพลงมาประกอบ
สำหรับโปรแกรม Windows Live Movie Maker เป็นโปรแกรมฟรี (FREE) ที่ถูกสร้างขึ้นโดย Windows หากมีข้อสงสงหรือคำถามที่จะถาม ผู้พัฒนาโปรแกรมตัดต่อวิดีโอนี้ สามารถที่จะติดต่อกับทางผู้พัฒนาโปรแกรม Windows Live Movie Maker ได้ทาง Website : http://support.microsoft.com/get-support

2. Lightworks


Lightworks เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่ดี มีการสนับสนุการทำงานที่ มี effects และ smart trimming tools โปรแกรมนี้เป็นที่นิยมมากให้การตัดต่อหนังเลยที่เดียว


3. Kate’s Video Toolkit

Kate’s Video Toolkit เป็นโปรแกรมตัดต่อวิดีโอ ที่มีความสามารถหลายหลาย ไม่ว่าจะเป็นตัดไฟล์ ประกอบ 2 ไฟล์วีดีโอต่อกัน มีลูกเล่นเปลี่ยนฉากเวลาเริ่มวีดีโอใหม่ กำหนดลำดับของวีดีโอกับเสียง

4. Avidemux


Avidemux เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอขนานเล็ก และเป็นโปรแกรม open source โดยโปรแกรมนี้มีสามารถตัด หมุน ปรับขนาด ลบเสียงรบกวน ปรับสี และอื่นๆ

5. VSDC Free Video Editor

VSDC Free Video Editor โปรแกรมตัดต่อวีดีโอนี้ต้องใช้เวลาศึกษาอ่านคู่มือหน่อย เป็นขั้นตอนการทำงานอาจเข้าใจอยาก แต่โปรแกรมนี้ก็มีจุดเด่อ คือ มีตัวช่วย filters, เอฟเฟคเปลี่ยนฉาก (transitions),เสียงเอฟเฟค (audio effects) เป็นต้น

6. MPEG Streamclip


MPEG Streamclip โปรแกรมนี้สามารถเปิดไฟล์ DVD หรือเปิด URLs ของ video streams ได้ ความสามารถของโปรแกรมตัดต่อวีดีโอนี้ เช่น การทริม (trim) การ cut การ copy or paste และ export the soundtrack เป็นต้น

7. VirtualDub

VirtualDub โปรแกรมตัดต่อวีดีโอนี้สามารถทำงานได้กับไฟล์ AVI ด้วยอินเตอร์เฟซที่เรียบงายและชัดเจน จะช่วยให้เลื่อนและตัดคลิปได้อย่างง่ายได้ ความสามารถของโปรแกรมก็มี ปรับคมชัด, เบลอ, ปรับขนาด, หมุนความสว่างสีและความคมชัดปรับแต่ง – และมีปลั๊กตัวเลือกเพิ่มให้ได้ใช้อีกด้วย

8. Free Video Dub

Free Video Dub ก็เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ มีลูกเล่นคล้ายกับโปรแกรมที่ผ่านมา อย่างไงทดลองโหลดมาทดสอบดู เป็นโปรแกรมตามความชอบส่วนบุคล

9. Freemake Video Converter

Freemake Video Converter เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ มีฟังชั่น

เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพของช่างภาพมืออาชีพ


เรียนรู้การจัดองค์ประกอบภาพแบบต่างๆ เพื่อพัฒนาผลงานภาพถ่ายของคุณ



หลังจากที่ได้เรียนรู้เทคนิคพื้นฐาน เช่น การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วนและแบบกึ่งกลาง เรามาลองทำอะไรที่ท้าทายยิ่งขึ้นด้วยเทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพแบบอื่นๆ ซึ่งเป็นเทคนิคของมืออาชีพ เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้ไม่ใช่แค่การแยกกรอบภาพเป็นสองหรือสามส่วน แต่เป็นเทคนิคที่ต้องพิจารณาตำแหน่งของตัวแบบในภาพ ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างตัวแบบหลักและตัวแบบรอง รวมทั้งมุมมองของคนดู การใช้เทคนิคเหล่านี้จะช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับผลงานของคุณอย่างมาก เริ่มจากการจดจำขั้นตอนทีละข้อ ตามด้วยการผสมผสานรูปแบบการจัดองค์ประกอบแบบต่างๆ เพื่อให้ได้ภาพที่ตรงกับความตั้งใจของคุณยิ่งขึ้น เรามาเริ่มด้วยการดูในส่วนของเทคนิคการจัดองค์ประกอบแต่ละแบบกัน




ใช้สายน้ำหรือถนนเพื่อดึงความสนใจของคนดู

เส้นนำสายตา






องค์ประกอบตามเส้นแนวทแยงมุมใช้เพื่อจัดองค์ประกอบในภาพถ่ายโดยยึดตามแนวเส้นทแยงมุม ตัวอย่างเช่น คุณอาจใช้เส้นทแยงมุมที่เกิดจากแนวลาดเอียงของภูเขา แม่น้ำลำธาร หรือขอบถนน เพื่อเน้นมุมเปอร์สเป็คทีฟของภาพ ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกถึงความเคลื่อนไหว รวมถึงมิติความลึกของภาพที่เด่นชัดขึ้น วิธีง่ายๆ ในการสร้างองค์ประกอบภาพตามแนวเส้นทแยงมุมคือ การถ่ายภาพน้ำตกหรือบันไดจากด้านข้าง เพื่อให้ส่วนที่ลดหลั่นลงมานั้นเห็นได้ชัดเจนขึ้น อีกเทคนิคหนึ่งคือ การใช้เส้นทแยงมุมตัดกันสองเส้นทำให้เกิดแนวรูปตัว “X” เพื่อรวมความสนใจของภาพไปที่จุดตัด อย่างไรก็ตาม พึงระลึกว่า การใช้เส้นทแยงมุมแบบจงใจเกินไปก็อาจทำให้องค์ประกอบภาพดูไร้มิติได้ กลายเป็นการแบ่งภาพให้เป็นสองส่วนเท่านั้น
การใช้ทางรถไฟเพื่อดึงความสนใจของคนดูไปที่รถไฟ












การจัดองค์ประกอบภาพเช่นนี้ให้ความสำคัญไปที่รถไฟซึ่งออกมาจากอุโมงค์ ในภาพตัวอย่างทางซ้าย อุโมงค์อยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างต่ำจากส่วนบนของภาพ ทำให้ดึงจุดสนใจไปที่พุ่มไม้ที่ผลัดใบบนภูเขาเหนืออุโมงค์ ในทางกลับกัน เมื่อวางตำแหน่งอุโมงค์ไว้ที่ส่วนบนอย่างในภาพทางขวา ทางรถไฟที่ทอดยาวสามารถดึงสายตาของคนดูไปที่อุโมงค์อย่างได้ผล
เลือกทางโค้งของถนนในไร่เพื่อดึงความสนใจของคนดูไปที่บ้านหลังน้อย












องค์ประกอบภาพในที่นี้มีบ้านหลังคามุงจากซึ่งตั้งอยู่หลังทุ่งนาเป็นจุดสนใจ ภาพทางซ้ายเป็นองค์ประกอบที่มีความเปรียบต่างแบบเดิมๆ โดยที่มีบ้านหลังน้อยอยู่ที่ปลายนา แต่ในภาพทางขวา เป็นการถ่ายภาพถนนในไร่ซึ่งทำหน้าที่สื่อความมุ่งหมายของช่างภาพ โดยใช้ทางโค้งนำสายตาของคนดูจากถนนผ่านทุ่งนาไปยังบ้าน






องค์ประกอบของจังหวะที่ไม่คาดคิดจากมุมมองที่แตกต่าง

จังหวะที่ไม่คาดคิด










เพื่อสร้างความรู้สึกของจังหวะที่ไม่คาดคิดในองค์ประกอบภาพ ให้เปลี่ยนมุมของเลนส์และตำแหน่งกล้องที่จะเล็งไปยังตัวแบบเพื่อถ่ายภาพจากมุมที่แตกต่าง ขอแนะนำเทคนิคนี้เป็นพิเศษสำหรับคนที่มักลงเอยด้วยองค์ประกอบภาพที่ราบเรียบน่าเบื่อ เช่น การถ่ายภาพตัวแบบในท่าสบายๆ หรือจากความสูงที่จำกัดด้วยขาตั้งกล้องที่ใช้ การเปลี่ยนมุมของเลนส์หรือกล้องย่อมให้องค์ประกอบภาพที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเมื่อคุณใช้เลนส์มุมกว้าง การปรับความสูงหลายสิบเซนติเมตรอาจสร้างความแตกต่างอย่างมากในภาพถ่ายที่ออกมา ขณะเดียวกัน สำหรับภาพถ่ายโคล้สอัพตัวแบบ เช่น ดอกไม้ การขยับเพียง 2-3 เซนติเมตรก็ทำให้องค์ประกอบภาพแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง




ตัดองค์ประกอบส่วนเกินเพื่อเน้นตัวแบบหลัก

การตัดส่วนเกิน




เมื่อไหร่ก็ตามที่ถ่ายภาพด้วยความรีบร้อน หรือไม่ทันได้เช็คองค์ประกอบภาพผ่านช่องมองภาพ บ่อยครั้งสิ่งที่ไม่ต้องการมักจะปรากฏอยู่ในภาพด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณขอบภาพ และในกรณีที่ช่องมองภาพของกล้องครอบคลุมไม่ถึง 100% “การตัดส่วนเกิน” เป็นเทคนิคในการเอาส่วนประกอบที่ไม่ต้องการออกจากองค์ประกอบภาพ เริ่มจากการตรวจสอบภาพหลังถ่ายบนจอ LCD ด้านหลัง จากนั้น ตัดองค์ประกอบต่างๆ ออกจากองค์ประกอบภาพให้เป็นไปตามภาพที่คุณตั้งใจ แล้วจึงถ่ายภาพใหม่อีกครั้ง ฝึกฝนนิสัยการจัดองค์ประกอบภาพใหม่เช่นนี้เป็นประจำ
ขับเน้นตัวแบบหลักด้วยการจัดองค์ประกอบภาพแบบเรียบง่าย









ภาพถ่ายริมทะเลสาบที่ห้อมล้อมด้วยต้นไม้เขียวชอุ่ม ภาพทางซ้ายถ่ายทอดรายละเอียดของบรรยากาศแวดล้อมในบริเวณนั้นได้อย่างชัดเจน ขณะที่ในภาพทางขวา องค์ประกอบที่ไม่ต้องการถูกกำจัดออกไป ทำให้ได้องค์ประกอบภาพที่เน้นความสำคัญของต้นไม้ซึ่งเป็นตัวแบบหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ










ตัวอย่างทางซ้ายเป็นการจัดองค์ประกอบภาพแบบ “รักพี่เสียดายน้อง” คือ พยายามที่จะเก็บทุกอย่างที่มองเห็นจากจุดที่ถ่ายภาพ แต่การทำอย่างนั้นทำให้จุดประสงค์ของการถ่ายภาพคลุมเครือไม่ชัดเจน ในทางตรงกันข้าม เราจะมองเห็นความมุ่งหมายได้ชัดเจนในภาพทางขวาเมื่อตัดส่วนพื้นที่แบ็คกราวด์บางส่วนออกไป

ที่มา : snapshot

5 เทคนิคการถ่ายรูปกับการจัดองค์ประกอบภาพให้ดูดี


5 เทคนิคการถ่ายรูปกับการจัดองค์ประกอบภาพให้ดูดี


   ใช้กฎสามส่วนให้เกิดประโยชน์




           อาจเรียกได้ว่า "กฎสามส่วน" เป็นสิ่งที่ช่วยจัดองค์ประกอบภาพได้ง่ายสุด ๆ แต่หลายคนมักมองข้าม ด้วยการปิดเส้นกริด (คือเส้น 4 เส้นที่วางตัดกันเป็น 9 ช่อง) ในช่องมองภาพหรือที่จอ LCD ไป และหากใช้กฎนี้กับเส้นกริดก็จะช่วยให้คุณถ่ายภาพที่ดูมีมิติมากขึ้น ซึ่งมีหลักง่าย ๆ คือ วางตำแหน่งของวัตถุหลักที่จะถ่าย ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสิ่งของ โดยไม่ให้สิ่งนั้นอยู่ตรงกลางภาพ เพราะจะทำให้ได้ภาพที่ดูน่าเบื่อ

           ถ่ายภาพด้วยเส้นนำสายตา


           เส้นนำสายตา คือเส้นที่เกิดจากองค์ประกอบต่าง ๆ ในภาพที่จะช่วยทำให้มองเห็นวัตถุหลักได้โดดเด่นขึ้น โดยเส้นนำสายตาสามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งแสงจากหลอดไฟ ถนน รางรถไฟ หรือแนวต้นไม้ เป็นต้น ซึ่งจะดึงสายตาของผู้ชมจากฉากหน้าไปฉากหลัง ทำให้ภาพโดยรวมดูมีอารมณ์และมิติมากขึ้น ทั้งนี้เส้นดังกล่าวจะเป็นเส้นตรงหรือโค้งก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับการออกแบบภาพของแต่ละคน

            ให้ความสำคัญกับพื้นหลังของภาพ 


           แน่นอนว่าวัตถุหลักของภาพมีความสำคัญอันดับแรกที่เราต้องโฟกัส แต่ต้องไม่ลืมว่าฉากหลังหรือแบ็คกราวด์ของภาพก็มีส่วนทำให้ภาพถ่ายออกมาดูดีไม่แพ้กัน ซึ่งฉากหลังที่ดีจะกลมกลืนและช่วยเสริมให้วัตถุหลักมีความโดดเด่นมากขึ้น โดยไม่รบกวนหรือดึงจุดเด่นของภาพลง โดยควรเลือกฉากหลังที่เหมาะสมก่อนเสมอ แล้วค่อยหาตำแหน่งวางวัตถุหลักทีหลัง

            เปลี่ยนท่าทางการถ่ายภาพช่วยเปิดมุมมองใหม่ 


           ปกติแล้วเรามักจะถ่ายภาพที่ระดับสายตาเพื่อให้ได้ภาพที่ดี แต่นั่นก็อาจทำให้เบื่อได้เหมือนกัน เพราะได้แต่ภาพมุมเดียวแบบเดิม ๆ ดังนั้นลองเปลี่ยนท่าทางการถ่ายภาพของคุณ จากที่ยืนถ่ายมุมตรง ๆ ก็ลองขยับตัวในท่าต่าง ๆ เช่น ย่อตัว บิดเข่า ยืดตัว หรือแม้แต่นอนถ่าย ซึ่งจะเป็นการเปิดมุมมองใหม่ ๆ รวมทั้งช่วยให้ภาพที่ออกมาดูน่าตื่นเต้นกว่าเดิมนั่นเอง 

            หากรอบภาพที่เหมาะสม 


           กรอบภาพในที่นี้ไม่ใช่หมายถึงกรอบรูปที่ตั้งโชว์บนโต๊ะหรือแขวนที่ผนังบ้านแต่อย่างใด แต่มันคือองค์ประกอบหนึ่งของภาพที่ช่วยลดพื้นที่ว่างของภาพและทำให้ผู้ชมเห็นจุดเด่นในภาพได้มากขึ้น ซึ่งกรอบภาพนี้เกิดจากการจัดวางตำแหน่งวัตถุที่ฉากหน้าให้เป็นรูปแบบของกรอบภาพ โดยที่จุดโฟกัสหลักจะอยู่ที่ฉากหลัง ทำให้ภาพดูลึกและมีมิติได้อย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว


ที่มา : kapook

เทคนิค/effect


เทคนิค/effect


การตัดภาพ (cut) เป็นการเปลี่ยนภาพจากภาพหนึ่งไปยังอีกภาพหนึ่งทันที นิยมใช้กับการตัดภาพทั่วไป เน้นความ กระฉับกระเฉง และความตื่นตัว เป็นต้น
การจางภาพเข้า Fade in  เป็นการค่อยๆนำภาพเข้ามา เริ่มจากภาพพื้นดำแล้วค่อยๆ เห็นภาพทั้งหมดชัดเจน นิยมใช้ในการเปิดเข้าเรื่อง เริ่มต้นใหม่ แนะนำสถานที่แห่งใหม่ เป็นต้น
การจางภาพออก Fade out เป็นการค่อยๆ นำภาพที่ปรากฏอยู่จางหายไปจนเป็นพื้นดำ นิยมใช้ในการจบเรื่อง ปิดฉาก หมดวันการสิ้นสุด เป็นต้น
การจางซ้อนภาพ (Dissolve) เป็นการเปลี่ยนภาพโดยขณะที่ช็อตแรกกำลังจางหาย ช็อตต่อมาค่อยๆปรากฏขึ้นมาแทนที่จนเต็มพร้อมกับช็อตแรกจางหายไปในที่สุด นิยมใช้กับการบอกวันเวลาที่ค่อยๆ ผ่านไป ความเชื่องช้า ความอ้อยอิ่ง ความอ่อนหวานละมุนละไม และความโรแมนติก เป็นต้น
การกวาดภาพ (wipe) เป็นการเปลี่ยนภาพโดยการปาดภาพในแนวตั้ง แนวนอน หรือแนวเฉียง การวาดภาพนิยมใช้กับการเปรียบเทียบระหว่างสิ่งของสองสิ่ง เปรียบเทียบเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่กำลังเนินพร้อมกันแต่คนละสถานที่ การพูดตอบโต้ทางโทศัพท์ เป็นต้น
การเลื่อนสไลด์ภาพ (slide effect) เป็นการเปลี่ยนเลื่อนภาพใหม่เข้ามาแทนที่ภาพเดิม การเลื่อนภาพอาจดูคล้ายการปาดภาพ แต่การเลื่อนภาพเป็นลักษณะเคลื่อนหรือดันภาพแรกออกไปทั้งภาพ ส่วนการปาดนั้นภาพแรกอยู่กับที่แล้วภาพใหม่ปาดเข้ามาแทนที่

ที่มา : การผลิตสื้อวิดิทัศน์เพื่อการศึกษา

โปรแกรมตัดต่อ


โปรเเกรมการตัดต่อ

Adobe Premiere Pro
Fre-download-Adobe-Premiere-Pro
เป็นซอฟแวร์โปรแกรมตัดต่อวิดีโอและบันทึกตัดต่อเสียงที่แพร่หลายที่สุด สามารถผลิตผลงานได้ในระดับมืออาชีพ จนถึงการนำไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ (Broadcasting System ) มีการทำงานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก สามารถจับภาพและเสียงมาวาง (Drag & Drop) ลงบนไทม์ไลน์ (Time line) เคลื่อนย้ายได้อิสระโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่มีการสูญเสียของสัญญาณภาพและเสียง เพียงผู้ผลิตรายการ ต้องมีทักษะที่ดีในการใช้โปรแกรมกับความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น  Adobe Permiere เป็นโปรแกรม ที่ใช้ตัดต่อภาพ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเป็น ภาพมาจากวิดีโอ หรือ ซีดี แม้กระทั่งการทำงาน เกี่ยวกับเสียง หรือหากมีข้อมูลรูปภาพจากกล้อง ดิจิตอลอยู่แล้ว ก็สามารถนำภาพที่ได้ถ่ายไว้มาตัดต่อ เพื่อสร้างเป็นภาพยนตร์สำหรับส่วนตัวได
premui1

มุมกล้องและขนาดภาพ


มุมกล้องและขนาดภาพ
มุมกล้อง
405690729
ภาพมุมปกติ (Normal angle shot) คือการตั้งกล้องระดับเดียวกับสิ่งที่ถ่ายหรือระดับสายตาของผู้แสดง สื่อความหมายถึงความเรียบง่าย คุ้นเคย ใช้กับภาพทั่วๆไปเป็นมุมกล้องที่ใช้มากที่สุด ภาพอยู่ในระดับสายตาหรือบางทีเรียกภาพมุมระดับสายตา
images
ภาพมุมต่ำ( Low angle shot) คือการตั้งกล้องระดับต่ำกว่าวัตถุหรือต่ำกว่าสิ่งที่ถ่าย หรือต่ำกว่าระดับสายตาของผู้แสดง สื่อความหมายถึงพลัง อำนาจความเข้มเเข็ง
angle-view-of-men-and-women-sitting-on-floor
ภาพมุมสูง (high angle shot) คือการตั้งกล้องระดับสูงกว่าวัตถุหรือสุงกว่าสิ่งที่ถ่าย สื่อความหมายตรงข้ามกับภาพมุมต่ำ คือ ไร้พลัง ไร้อำนาจ อ่อนแอ ต่ำต้อย
652809-img-1358446891-2
มุมวัตถุ (Objective )คือมุมของผู้ดู เป็นมุมภาพทั่วๆ ไปเหมือนภาพมุมปกติแทนสายตาของผู้ชมที่เป็นผู้สังเกตการณ์ ไม่มีส่วนร่วม เช่น ผู้ชมมองเห็นวัตถุ สถานที่ หรือมองเห็นตัวแสดงคุยกันเอง
images777
มุมแทนความรู้สึกผู้แสดง ตรงข้ามกับมุมวัตถุ(Subjective) คือ ภาพมุมมองของ ตัวแสดง เช่น ตำรวจเล็งปืนสอดส่ายตามองหาผู้ร้ายที่หลบอยู่ในลานจอดรถ จะเป็นภาพแทนสายตาของตัวแสดง คือภาพรถกวาดไปทีละคัน
images45
มุมข้ามไหล่ (Over Shoulder shot )คือการตั้งกล้องไว้ทางซ้ายหรือขวาของคู่สนทนาถ่ายเฉียงผ่านไหล่ของคู่สนทนา เห็นหน้าของคนที่แสดงหรือคนที่กำลังพูดแสดง โดยไม่มีไหล่และบางส่วนของศีรษะคู่สนทนาเป็นฉากหน้า ให้รู้ว่ากำลังคุยกับผู้อื่น และทำให้ภาพมีมิติมีความลึก
ขนาดภาพ
ภาพไกลมาก (Extreme Long Shot หรือ ELS)
ขนาดภาพลักษณะนี้กล้องจะตั้งอยู่ไกลจากสิ่งที่ถ่ายมาก ซึ่งภาพที่ได้จะเป็นภาพมุม-กว้าง ผู้ชมสามารถมองเห็นองค์-ประกอบของฉากได้ทั้งหมด สามรถมองเห็นสิ่งที่ถ่ายได้เต็มสัดส่วน แม้สิ่งที่ถ่ายนั้นจะมีขนาดเล็กก็ตาม ซึ่งภาพลักษณะนี้ จะใช้เป็นภาพแนะนำ-สถานที่ เหมาะสำหรับการปูเรื่อง เริ่มเรื่อง ซึ่งภาพยนตร์ในต่างประเทศนิยมใส่ไตเติ้ลส่วนหัวไว้ในฉากประเภทนี้ตอนที่ภาพยนตร์ริ่มเข้าเนื้อเรื่อง
ภาพขนาดไกลนี้จะสร้างความรู้สึกโอ่อ่า อลังการ แสดงออกถึงความใหญ่โตของสถานที่ ความน่าเกรงขาม ความยิ่งใหญ่ และยังสามารถสร้างความประทับใจรวมถึงสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้อีกด้วย
เช่น กลุ่มเรือโจรสลัดกำลังแล่นเรือออกสู่ทะเลกว้างโดยมีเรือของหัวหน้าโจรสลัดแล่นออกเป็นลำหน้า ตามด้วยกลุ่มเรือลูกน้องอีกนับ 10ลำ โดยใช้ภาพขนาดไกลมาก ตั้งกล้องในมุมสูงทำให้ผู้ชมเห็นถึงความยิ่งใหญ่และน่าเกรงขามของโจรสลัดกลุ่มนี้
เป็นต้น
ภาพไกล (Long Shot หรือ LS)
ขนาดภาพแบบนี้ไม่สามารถกำหนดระยะห่างระหว่างกล้องกับสิ่งที่ถ่ายได้ แต่จะกำหนดโดยประมาณว่าสิ่งที่ถ่ายจะอยู่ในกรอบภาพ (Frame) พอดี ถ้าเป็นคน ศีรษะจะพอดีกับกรอบภาพด้านบน ส่วนกรอบภาพด้านล่างก็จะพอดีกับเท้า ซึ่งสามารถเห็นบุคลิก
อากัปกิริยาการแสดง การเคลื่อนไหว ตำแหน่งที่อยู่ในการแสดงหรือในฉาก ด้วยเหตุนี้จึงสามารถใช้เป็นภาพแนะนำตัวละคร หรือเริ่มฉากใหม่ได้ บางครั้งอาจใช้เป็นภาพในฉากเริ่มเรื่องได้เช่นเยวกันกับภาพขนาดไกลมาก และบางครั้งภาพขนาดไกลยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอสทาบริชชิง ช็อต (Establishing Shot) ส่วนองค์ประกอบรอบข้างผู้ชมจะได้เห็นรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น
ภาพปานกลาง Medium Shot หรือ MS)
ขนาดภาพลักษณะนี้ถ้าเป็นภาพบุคคล ผู้ชมจะได้เห็นตั้งแต่เอวของนักแสดงขั้นไปจนถึงศีรษะ ขนาดภาพแบบนี้ผู้ชมสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของนักแสดง และรายละเอียดของฉากหลังพอสมควร ซึ่งพอที่จะเข้าใจเรื่องราวต่างๆได้ จึงถือได้ว่าเป็นภาพที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ในเรื่องได้ดีขนาดภาพปานกลาง เป็นขนาดภาพที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะใช้เป็นภาพเชื่อมต่อ กล่าวคือ การเปลี่ยนขนาดภาพจากภาพไกลมาเป็น
ภาพไกล้หรือจากภาพใกล้มาเป็นภาพไกลก็ตาม จะต้องเปลี่ยนมาเป็นภาพขนาดปานกลางเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ขัดต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ชม
เนื่องจากภาพจะกระโดด
นอกจากนี้ภาพขนาดปานกลางยังนิยมใช้ถ่ายภาพบุคคล 2 คนในฉากเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่า ภาพ Two Shot ซึ่งนิยมใช้กันมาก
ในภาพยนตร์บันเทิง
ภาพใกล้ (Close-Up หรือ CU, Close Shot หรือ CS)
ภาพใกล้ ผู้ชมจะมองเห็นนักแสดงตั้งแต่ไหล่ขึ้นไป เป็นขนาดภาพที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงอารมณ์ของนักแสดงได้มากที่สุด เพราะการใช้ภาพขนาดใกล้ถ่ายบริเวณใบหน้าของนักแสดง จะสามารถภ่ายถอดรายละเอียด เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ภายในของนักแสดงได้อย่างชัดเจนมาก นอกจากนี้ยังจะทำให้ผู้ชมได้รู้สึกใกล้ชิดกับสิ่งที่ถ่ายอีกด้วยทั้งนี้เพื่อทำให้เข้าใจถึงรายละเอียดของวัตถุต่างๆ ตามเนื้อหาที่กำลังนำเสนอ และ
ภาพขนาดใกล้นี้ยังสามารถบังคับให้ผู้ชมสนใจในวัตถุที่กล้องกำลังถ่าย หรือสิ่งที่กำลังนำเสนอ
ภาพใกล้มาก (Extreme Close-Up Shot หรือ ECU, Big Close-Up Shot หรือ BCU)
เป็นภาพที่ถ่ายในระยะใกล้มากๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเน้นสิ่งที่ถ่าย เพื่อให้ผู้ชมเห็นรายละเอียดของวัตถุ หรือเพื่อเพิ่มความเข้าใจในกรณีที่วัตถุมีขนาดเล็กมากๆ เช่น การถ่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นหรือถ้าถ่ายใบหน้านักแสดง ก็เพื่อเป็นการเน้นอารมณ์ของนักแสดงเช่น จับภาพที่ดวงตาของนักแสดง ทำให้เห็นน้ำตาที่กำลังใหลออกจากดวงตา เป็นต้นและทั้งหมดนี้ก็เป็นขนาดภาพที่นิยมนำมาถ่ายทอดเรื่องราวของภาพยนตร์ ซึ่งตมความเป็นจริงแล้ว เราสามารถที่จะประยุกต์หรือดัดแปลงขนาดภาพไปเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ผิดอะไร เพียงแต่ทั้งหมดนี้เป็นขนาดภาพสากลที่ทำให้เรา (ทีมงานถ่ายทำภาพยนตร์) เข้าใจตรงกันว่าต้องการให้ภาพออกมาในลักษณะใดเท่านั้น นอกจากนี้อารมณ์และความรู้สึกที่ผู้ชมจะได้รับขณะชมภาพยนตร์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดภาพเพียงย่างเดียว แต่ต้องอาศัยองค์ประกอบของภาพยนตร์อื่นๆ เข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมความน่าเชื่อถือ และความเป็นภาพยนตร์มากยิ่งขึ้น

Teaser กับ Trailer ต่างกันอย่างไร???


Teaser กับ Trailer ต่างกันอย่างไร???

Teaser 
ในวงการหนัง จะใช้เรียกสื่อโฆษณาหนังเรื่องนั้นๆในลักษณะ 'สั้น แต่ดึงดูด' ซึ่งมีทั้งใบปิด ที่เป็นภาพของสิ่งของหรืออะไีรก็ตามที่พอจะยั่วน้ำลายคนดูได้ แม้ว่าจะไม่ได้เห็นรายละเอียดส่วนอื่นๆของหนัง (เช่น ดารา) ยกตัวอย่างจากใบปิดทีเซอร์ "Die Another Day" (ภาพที่โพส) จะเห็นนะครับว่า บนใบปิดไม่มีดาราหรือภาพแอ็กชั่นของตัวละคร แต่คนทำใช้ภาพของปืนบนน้ำแข็งมายั่วยวนคนดู 

และภาพเคลื่อนไหวอย่างตัวอย่างหนัง ตัวอย่างหนังที่เป็นทีเซอร์ จะมีความยาวแบบสั้นๆครับ แค่นาทีนึง หรือต่ำกว่านั้น จุดประสงค์หลักๆ ก็อย่างที่บอกไปว่า่ มันต้องสั้น ไม่ได้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวหนังมาก แต่ชวนดึงดูดให้คนดูร้องซี้ดปาก ยกตัวอย่าง ตัวอย่างทีเซอร์ของ Die Another Day (คลิกดูhttp://www.youtube.com/watch?v=aHuAGozIJuM) ซึ่งมีความยาวแค่ 57 วินาที แต่สามารถกระตุกต่อมความอยากดูได้ 

Trailer (เทรลเลอร์)

เป็นภาพยนตร์ตัวอย่างที่มีความยาวมากว่าทีเซอร์ครับ ซึ่งทำให้ผู้สร้าง สามารถอธิบายแนวหนัง , อารมณ์หนัง , พล็อตเรื่องคร่าวๆ , ฉากไฮไลท์ และโฉมหน้าของเหล่านักแสดงเด่นๆในหนังเรื่องนั้นๆได้อย่างเต็มที่ ซึ่งส่วนใหญ่ เทรลเลอร์จะมีความยาวระหว่าง 2-3 นาที ยกตัวอย่างจาก ตัวอย่างหนังฉบับเต็มของ Die Another Day (คลิกดู http://www.youtube.com/watch?v=P0VyXWDrv_Y) มีความยาว 3 นาที บอกเล่าลักษณะสำคัญตามที่แอดมินว่าไว้ 

สำหรับฮอลลีวู้ด เนื่องจากหนังจากที่นี่ กะจะขายในตลาดโลกด้วย ระหว่างการสร้าง ทีมงานจึงจำต้องคอยเลี้ยงความสนใจของคนดูไปเรื่อยๆ ด้วยการส่งทีเซอร์ หรือเทรลเลอร์ หลายตัว ออกมาสู่สายตาคนดู นั่นจึงทำให้หนังเรื่องนึง อาจจะมีตัวอย่างหนังมากกว่า 1 ตัวขึ้นไปครับ (ซึ่งต่างจากหนังไทยที่มักจะมีทีเซอร์ตัวเดียว หรือเทรลเลอร์ตัวเดียว) 

แถมให้อีกอย่างคือ Spot (สปอต) อันนี้เป็นเหมือนตัวอย่างหนังครับ แต่มีความยาวแบบสั้นๆแค่ 20-30 วินาที (หรืออย่างมากก็ไม้เกินหนึ่งนาที) ออกฉายทางทีวีหรือสื่ออื่นๆ ซึ่งด้วยความแพงของค่าเช่าเวลา จึงทำให้มันสั้นๆแบบนั้นแหละครับ (คลิกดูตัวอย่าง http://www.youtube.com/watch?v=laPB2HVVSRw)

ตัวอย่างหนังไม่ว่าจะเป็นแบบทีเ้ซอร์หรือเทรลเลอร์ ก็ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญ สำหรับการโปรโมทหนังครับ หากตัวอย่างดูดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง (ยกตัวอย่างด้วย ตัวอย่างหนีง Inception http://www.youtube.com/watch?v=66TuSJo4dZM) ผู้ชมเห็นแล้วอยากดูอะไรแบบนี้ แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปครับว่า ตัวอย่างหนังดูดี ตัวหนังจะดีตาม หรือตัวอย่างหนังดูแย่ แต่ตัวหนังจริงอาจจะดีกว่าก็เป็นได้ คล้ายคลึงกับคำกล่าวที่ว่า 'อย่าตัดสินหนังสือที่หน้าปก' 

ที่มา :  http://pantip.com/topic/30859743